Week 11 14-01-54
Expository Test
Imperative
1.Give me that book.
3.Turn right at the corner.
4.Try the smoked salmon.
5.Come around on Sunday.
ข่าวประกอบด้วย หัวข่าวและตัวข่าวหัวข่าวประกอบด้วยเนื้อข่าวโดยย่อ ส่วนตัวข่าวแบ่งออกได้เป็นอย่างน้อย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยเนื้อข่าวโดยย่อ และที่มาของข่าวโดยทั่วไปมักรวมอยู่ในย่อหน้าเดียว
ส่วนที่ 2 คือเนื้อข่าวโดยละเอียด อาจมีมากกว่า 1 ย่อหน้าก็ได้
1. โครงสร้างของหัวข่าวภาษาไทย
รูปแบบของการเรียงคำในหัวข่าวภาษาไทยมี 3 แบบคือ
ก.นามวลี โครงสร้างรูปแบบนี้มีน้อย เช่น แผนวิจัยวัสดุนิวเคลียร์รับโครงการปรมาณู
ข.ประโยค โครงสร้างของประโยคที่เป็นหัวข่าวมี 5 ประเภท
1.+ประธาน+กริยา+กรรม เช่น น้ำจะท่วมกรุง
2.+ประธาน+กริยา+กริยา+กรรม เช่น 4โจรตี-ฟันอาจารย์ไม่เข้า
3.+กริยา+กรรม เช่น สั่งเตรียมพร้อมตำรวจชายแดนเต็มอัตราศึก
4.ประโยคเดียวเรียงกัน 2 หรือ 3 ประโยค เช่น ตื่นทองถูก เข้าคิวซื้อ วุ่นทั้งกรุง
5.ขึ้นต้นหัวข่าวด้วยคำว่า “คาด “ “ว่า “ ว่ากันว่า” และตามด้วยประโยค เช่น คาดปัญหาน้ำมันเข้าที่ประชุม ค.ร.ม. วันนี้
2.โครงสร้างหัวข่าวภาษาอังกฤษ หัวข่าวภาษาอังกฤษไม่ใช้เครื่องหมายที่จบประโยค (.) เครื่องหมายที่ใช้บ้างคือ เครื่องหมายคำถาม และเครื่องหมายตกใจ
ก.นามวลี เป็นโครงสร้างแบบที่ใช้มากที่สุด
1..+N+V-ing P เช่น
Exports gaining speed
IFCT seeing yen loan in Japan
2.+N+V-ed P. เช่น
Thai held in Malaysia
Govt troop encircled
3.+N+Prep. P.เช่น
Major cuts in budget
Arms catch in Songkhla
4.N+to V.P.เช่น
New fund to ease loan problem
Cement export to begin this month
ข ประโยคเดี่ยว โครงสร้างของประโยคเดี่ยวประกอบด้วย ภาคประธาน 1 ภาคและภาคแสดง 1 ภาคกริยาของประโยคจะใช้ในรูปปัจจุบันกาล (Present tense) เสมอ a an the และ’s อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้เมื่อจบประโยคไม่ต้องมีเครื่องหมายจบประโยค (.) เช่น
Son Sann may lose Thai backing.
ค.รูปประโยคที่คัดคำพูดมาลง ซึ่งจะใช้รูปแบบได้ 5 แบบ เช่น
Borg- “I’II quit after Wimbledon”
Borg: “I’II quit after Wimbledon”
“I’II quit after Wimbledon”- Borg
“I’II quit after Wimbledon”, Borg
“I’II quit after Wimbledon” , says Borg
เครื่องหมายคำพูด (“ “) อาจตัดออกไปได้
3.การแปลหัวข่าวภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แปลผู้ไม่จำเป็นต้องนำโครงสร้างของหัวข่าวในต้นฉบับมาใช้ในฉบับแปลต้องจับความหมายว่า ใคร อะไร ทำอะไรแล้วนำมาถ่ายทอดโดยใช้โครงสร้างของหัวข่าวของภาษาฉบับแปล
การเปรียบเทียบโครงสร้างของหัวข่าวภาษาอังกฤษกับภาษาไทยพร้อมตัวอย่าง
ก. ภาษาอังกฤษ :{ +N+Ved P}
{+N+V+N} ภาษาไทย = :+ กริยา + คำนาม
เช่น Border Police placed on full alert.
=สั่งเตรียมพร้อมตำรวจชายแดนเต็มอัตราศึก
Gas price increased 11 satang per litre.
=พิจารราราคาน้ำมันขึ้นลิตรละ 11 สตางค์
Forger gets 14 years.
=ให้จำคุกนักทำแบงก์ปลอม 14 ปี
ข. ภาษาอังกฤษ :{+N+Ving P}
{+N+To VP} ภาษาไทย :+ คำนาม+กริยา+คำนาม
Japan willing to buy more rice.
=ญี่ปุ่นจะซื้อข้าวเพิ่ม
8 robbers attacking gun store --killing a cop.
=8 โจรบุกปล้นร้านเพชร ยิงตำรวจตายหนึ่ง
Kukrit to return to politics.
=คึกฤทธิ์จะกลับเข้าเล่นการเมืองอีก
ค.ภาษาอังกฤษ :N+V+N= ภาษาไทย: คำนาม+กริยา+คำนาม
Planters, millers laud govt’ s sugar dicision.
=ชาวร้ายอ้อย เจ้าของโรงงานน้ำตาลพอใจนโยบายน้ำตาลของรัฐบาล
Meteorology warns of rain, wild sea and strong wind.
=อุตุเตือนระวังฝนตก, คลื่นลมแรง
ค. ภาษาไทย ว่า expected
คาดว่า + ประโยค = N+ said + To V
ว่ากันว่า Believed
คาดว่าราคาทองจะเริ่มลด
= Gold prices expected to go down.
คาดว่าการค้าในปี 1982 จะเลวลง
= 1982 trade expected to be worean.
การแปลตัวข่าว
1.โครงสร้างของตัวข่าว
ย่อหน้าที่ 1 เป็นสรุปข่าวโดยย่อ และบอกแหล่งที่มาของข่าว ย่อหน้าต่อไปเป็นรายละเอียด
2.รูปประโยคและการใช้กริยา
ใช้รูปประโยคสั้น ไม่มีส่วนขยายสับซ้อนเกินไป สำหรับภาคแสดงในประโยคภาษาอังกฤษให้ใช้เป็นอดีตกาล (Past tense)
3.การใช้ศัพท์ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะในการรายงานข่าวหนังสือพิมพ์
มีลักษณะเฉพาะของมัน มักจะเป็นคำที่สั้นถ้าเอาคายาวมาใช้จะย่อให้สั้น ใช้คำที่มีความหมายแฝง (Connotative) ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกรุนแรง และตื่นเต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น